Skip to main content
บทความ

การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

By กรกฎาคม 4, 2015มิถุนายน 3rd, 2016No Comments

(PREVENTIVE MAINTENANCE)
MAIN DISTRIBUTION BOARD


Main Distribution (MDB)and Distribution (DB)

post-2-A-1post-2-A-2post-2-A-3
การบำรุงรักษาตู้เมนสวิตช์ (MDB) และ ตู้ย่อยไฟฟ้า (DB) คือการทำความสะอาด การตรวจสอบบริเวณรอบๆตู้ ภายในตู้ และทดสอบ Function ของอุปกรณ์ภายในตู้ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

การบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอดูเหมือนเป็นค่าใช้จ่ายสิ้นเปลือง แต่เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายที่สุด เพราะจะทำให้ระบบต่าง ๆ ได้รับการตรวจสอบและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอก่อนที่จะชำรุด หรือเสื่อมสภาพ การรู้ก่อนและการแก้ไขก่อน โดยการบำรุงรักษาก่อนที่จะสึกหรอ นอกจากจะยืดอายุการใช้งานได้อย่างมหาศาลแล้ว ยังทำให้ลดความเสี่ยงจากการหยุดสายพานการผลิตได้

ดังนั้น การบำรุงรักษาตู้เมนสวิตช์และตู้ย่อยไฟฟ้า จึงมีความสำคัญ จำเป็นต้องบำรุงรักษาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากเหตุการณ์ อัคคีภัย ที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรอีกด้วย

ทำไม? ต้องมีการบำรุงรักษาตู้เมนสวิตช์ (MDB)และตู้ย่อยไฟฟ้า (DB)

1. เป็นการตรวจสอบอุปกรณ์ที่อยู่ภายในตู้ ให้สามารถพร้อมทำงานได้ตลอดเวลาและเป็นปกติ
2. ช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ และยังช่วยให้อุปกรณ์ที่อยู่ภายในตู้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3. ลดความเสี่ยงในการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร
4. ระบบไฟฟ้ามีความเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น
5. ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำ

post-2-A-4post-2-A-5post-2-A-6


หากขาดการการบำรุงรักษา

ถ้าไม่มีการบำรุงรักษาตู้ จะทำให้เกิดความสกปรกและจะส่งผลต่ออุปกรณ์ภายในตู้ เนื่องจากฝุ่นละอองปริมาณมากรวมตัวกับความชื้นที่เกิดขึ้นก็จะมีคุณสมบัติเป็นแผ่นฟิลม์บางๆ ทำให้กลายเป็นตัวนำไฟฟ้าซึ่งนำกระแสไฟฟ้าได้จะส่งทำให้อุปกรณ์ภายในตู้ทำงานผิดปกติซึ่งจะส่งผลดังนี้

1. ระบบไฟฟ้าไม่เสถียร
2. อุปกรณ์ภายในตู้ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ
3. เสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรและ อาจทำให้ระบบ การผลิตหยุดการผลิต
4. ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงแก้ไขสูง


post-2-B-1

Capacitor

Capacitor คือ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่ปรับค่า P.F. (Power Factor) คาปาซิเตอร์จะเป็นตัวจ่ายกระแสไฟฟ้า Reactive Power (กำลังไฟฟ้าสูญเสีย เสมือน) เพื่อชดเชยกับกระแสไฟฟ้าของวงจรในวงจรไฟฟ้าที่มีค่า P.F. (Power Factor) ต่ำจะมีผลเสียต่อระบบไฟฟ้าอย่างมากที่เห็นได้ชัดเจนคือในรูปของค่าสูญเสียต่างๆ และอาจต้องเสียค่าปรับให้การไฟฟ้าเนื่องจากมีค่า P.F. (Power Factor) ต่ำกว่า0.85 ตามการไฟฟ้ากำหนด

ถ้ามี Capacitor ในระบบไฟฟ้า?

1.ลดค่ากำลังไฟฟ้าสูญเสีย เช่น ค่าสูญเสียในสายไฟฟ้า ค่าสูญเสียในขดลวดของหม้อแปลงไฟฟ้า
2.ลดค่าแรงดันตก เช่น ลดค่าแรงดันตกในสายไฟฟ้า ลดค่าแรงดันตกในขดลวดของหม้อแปลงไฟฟ้า
3.เพิ่มความสามารถในการรับโหลดของหม้อแปลงไฟฟ้าและสายไฟฟ้าทำให้หม้อแปลงไฟฟ้าและสายไฟฟ้ารับโหลดได้มากขึ้น
4.ลดค่าไฟฟ้ารายเดือน

post-2-B-2

ทำไม? ต้องมีการเปลี่ยน Capacitor เมื่อเสื่อมประสิทธิภาพ

คือ ค่า P.F. (Power Factor) ซึ่งมีผลต่อการนำมาคิดค่าไฟฟ้า ซึ่งถ้ามีค่า P.F. (Power Factor) ต่ำกว่า 0.85 ตามการไฟฟ้ากำหนด ก็จะมีการเสียค่าปรับค่าไฟฟ้าอีกด้วย ในส่วนทางด้านอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็นขดลวด จะมีปัญหาเพราะ กระแสฮาร์มอนิก มีผลกระทบ อาจจะทำให้กำลังงานสูญเสียของหม้อแปลงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทั้งจาก ลวดตัวนำและแกนแม่เหล็ก และยังทำให้ มิเตอร์วัดค่าไฟฟ้า (Watt-Hour Meter) ทำการวัดค่าผิดพลาดอีกด้วย


Power Factor Controller

คือ อุปกรณ์ที่สั่งควบคุมการทำงานของ Capacitor โดยการสั่งให้มีการ ปลด-สับ Capacitor เข้าออกวงจร เพื่อที่จะรักษาค่า P.F. (Power Factor) ของระบบให้มีค่าตามที่เราได้ตั้งค่าไว้การติดตั้งวิธีนี้จะได้ประโยชน์จากการลดกำลังไฟฟ้าที่สูญเสียในสายไฟฟ้าอีกด้วย

post-2-B-3

ถ้ามี Power Factor Controller?

คือ สามารถตั้งค่า Power Factor ตามที่ต้องการได้ โดยเครื่อง Power Factor Controller จะทำงานสั่งให้มีการปลด-สับ Capacitor เข้าออกวงจร

ถ้าไม่มี Power Factor Controller?

คือ Power Factor Controller เสียก็จะไม่มีอุปกรณ์ ไปสั่งให้ คาปาซิเตอร์ทำงาน



Magnetic Contactor

เป็นอุปกรณ์ที่อาศัยการทำงานโดยอำนาจแม่เหล็กในการเปิด – ปิดหน้าสัมผัสในการควบคุมวงจรหรือเรียกว่าสวิตช์แม่เหล็ก (Magnetic Switch) หรือคอนแทคเตอร์ (Contactor) ก็ได้

การพิจารณาเลือกไปใช้งาน

ในการเลือกแมคเนติกคอนแทคเตอร์ในการนำไปใช้งานให้เหมาะสมกับมอเตอร์นั้น จะพิจารณาที่กระแสสูงสุดในการใช้งาน และแรงดันของมอเตอร์ ดังนั้นต้องเลือกแมคเนติกคอนแทคเตอร์ที่มีกระแสสูงกว่ากระแสที่ใช้งานของมอเตอร์ ที่มีแรงดันเท่ากัน ในการพิจรณาเลือกแมคเนติกคอนแทคเตอร์ใช้งานควรพิจารณาดังนี้

post-2-D-1

– ลักษณะของโหลดและการใช้งาน
– แรงดันไฟฟ้าและความถี่
– สถานที่ใช้งาน
– ความบ่อยครั้งในการใช้งาน
– การป้องกันจากการสัมผัสและการป้องกันนํ้า
– ความคงทนทางกลและทางไฟฟ้า

ข้อดีของการใช้แมคเนติกส์คอนแทคเตอร์ เมื่อเทียบกับสวิตช์อื่นๆ

– ให้ความปลอดภัยสำหรับผู้ควบคุม
– ให้ความสะดวกในการควบคุม
– ประหยัดเมื่อเทียบกับการควบคุมด้วยมือ


เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)

เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) คือ อุปกรณ์ที่ทำงานเปิดและปิดวงจรไฟฟ้าแบบไม่อัตโนมัติ แต่สามารถเปิดวงจรได้อัตโนมัติ ถ้ามีกระแสไหลผ่านเกินกว่าค่าที่กำหนด โดยป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ที่ต่อกับเซอร์กิตเบรกเกอร์นั้นเกิดความเสียหายขึ้นจากกระแสที่เกินกำหนด แบ่งออกหลายชนิดได้แก่ คือ

1. Mold Case Circuit Breaker
2. Air Circuit Breaker
3. Miniature Circuit Breaker

post-2-E-1

Mold Case Circuit Breaker

ทนแรงดันไฟฟ้าที่ใช้งานได้ เบรกเกอร์แบบนี้ มีหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์เปิด-ปิดด้วยมือ และเปิดวงจรโดยอัตโนมัติ เมื่อมีกระแสไหลเกิน หรือเกิดการลัดวงจร โดย เบรกเกอร์จะอยู่ในภาวะตัดการทำงานจากกระแสเกิน(Trip) ซึ่งอยู่กึ่งกลาง ระหว่าง ตำแหน่งเปิดและปิด(ON/OFF) เราสามารถรีเซ็ทใหม่ได้โดย กดคันโยกให้อยู่ ในตำแหน่ง ปิดเสียก่อน แล้วค่อยโยกไปตำแหน่งเปิด


Air Circuit Breaker

เป็นเบรคเกอร์ที่ใช้กับแรงดันที่ต่ำกว่า 1000 โวลต์ มีขนาดใหญ่ใช้สำหรับเป็น เมนเบรกเกอร์ โดยทั่วไปมีพิกัดกระแสตั้งแต่ 225-6300 แอมป์ และมี อินเตอร์รัปติง คาปาซิตี (Interrupting Capacity) สูงตั้งแต่ 35-150 กิโลแอมป์ โครงสร้างทั่วไปทำด้วยเหล็กมีช่องดับอาร์ก (Arcing Chamber) ที่ใหญ่โตแข็งแรง เพื่อให้สามารถรับกระแสลัดวงจรจำนวนมากได้ แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่มีขายในท้องตลาด มักใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตรวจจับ และวิเคราะห์กระแสเพื่อสั่งปลดวงจร

Interrupting Capacity คือ ความสามารถในการตัดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรของ อุปกรณ์ป้องกันได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ทำให้อุปกรณ์ ป้องกันนั้นเสียหายหรือไหม้ลุกลาม โดยทั่วไปแล้ว Interrupting Capacity จะมี หน่วยเป็น kA หรือ กิโลแอมแปร์ ซึ่งเป็นหน่วยของ 1,000 แอมแปร์

post-2-F-1

Test Air Circuit Breaker

เป็นการทดสอบกลไกการทำงานของ Air Circuit Breaker เช่น ทดสอบการ ON-OFF และทดสอบชุด Trip Unit ทดสอบ Protection Unit

post-2-G-1

post-2-H-1

ทำไม? ต้องมีการทดสอบ Air Circuit Breaker

  • เพื่อให้ Air Circuit Breaker อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
  • เพื่อให้ Air Circuit Breaker ทำงานถูกต้องตามสภาวะการจ่ายโหลด
  • เพื่อยืดอายุการใช้งานของ Air Circuit Breaker
  • เพื่อลดค่าใช่จ่ายที่เกิดจากการต้องซ่อมบำรุงรักษา Air Circuit Breaker ในสภาวะฉุกเฉิน

Miniature Circuit Breaker

เป็นเบรคเกอร์ขนาดเล็ก ใช้ติดตั้งเป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับแผงจ่ายไฟฟ้าย่อย (Load Center) หรือ แผงจ่ายไฟฟ้าประจำห้องพักอาศัย (Consumer Unit) เบรคเกอร์ชนิดนี้ไม่สามารถปรับตั้งค่ากระแสตัดวงจรได้ มีทั้งแบบ 1 ขั้ว, 2 ขั้ว และ 3 ขั้ว อาศัยกลไกการปลดวงจรทั้งแบบ เทอร์มัล และ แมกเนติก มีรูปร่างทั่วไปดังรูป


post-2-I-1

ถังดับเพลิง

ถังดับเพลิง คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการดับเพลิงเบื้องต้น หรือ เมื่อมีผู้พบเห็นเพลิงไหม้จะสามารถใช้เครื่องดับเพลิงได้โดยทันที เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์หรือทรัพย์สินภายในพื้นนั่นๆ ดังนั้นเราควรเลือกชนิดถังดับเพลิงให้ถูกกับสถานที่


ประเภทของถังดับเพลิง

  • เพลิงประเภท A คือ เพลิงที่เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดา เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ พลาสติก ยางเป็นต้น
  • เพลิงประเภท B คือ เพลิงที่เกิดจากก๊าซของเหลวติดไฟ ไข และน้ำมันต่างๆ
  • เพลิงประเภท C คือ เพลิงที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือวัตถุที่มีกระแสไฟฟ้า
  • เพลิงประเภท D คือ เพลิงที่เกิดจากสารเคมีที่ติดไฟได้

post-2-I-2

ถ้ามีถังดับเพลิงอยู่ใกล้ตู้ MDB

เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้สามารถนำมาใช้ได้โดยทันที และยังช่วยป้องกันไฟไม่ให้ลุกลามไปในพื้นที่อื่นๆ

 

 

post-2-I-3

ถ้าไม่มีถังดับเพลิงอยู่ใกล้ตู้ MDB

เมื่อเกิดเหตุการ์ณไฟไหม้จะทำให้ไฟลุกลามไปยังพื้นที่อื่นๆ ทำให้เกิดความเสียหายเป็นจำนวนมากและสูญเสียทรัพย์สินที่ประเมินค่าไม่ได้


พัดลมระบายอากาศ

โดยปกติแล้ว ความร้อนภายในตู้คอนโทรลนั้นมีสาเหตุมาจากการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายในตู้ซึ่งความร้อนในส่วนนี้ถ้าไม่ได้รับการระบายออก อุณหภูมิภายในตู้คอนโทรลจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และเมื่ออุณหภูมิภายในตู้คอนโทรลสูงมากกว่าอุณหภูมิภายนอก โดยธรรมชาติความร้อนภายในตู้คอนโทรลก็จะถ่ายเทพลังงานความร้อนส่วนหนึ่งออกสู่ภายนอก ผ่านผนังตู้คอนโทรล หากมีอุณหภูมิสูงเกินไป จะทำให้อายุการใช้งานของอุปกรณ์ภายในตู้สั้นลง เช่น แมคเนติก รีเลย์ ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์

post-2-J-1

ถ้ามีพัดลมระบายความร้อน

ช่วยระบายความร้อนภายในตู้ไฟฟ้าหรือตู้ควบคุมให้อุณหภูมิลดลง

ถ้าไม่มีพัดลมระบายความร้อน

ถ้าภายในตู้เกิดมีอุณหภูมิความร้อนสูงจะส่งผลทำให้อุปกรณ์ภายในตู้เกิดความร้อนมากยิ่งขึ้นอาจจะทำให้อุปกรณ์เกิดความเสียหายได้เช่นกัน



Phase Protection Relay

คือ อุปกรณ์ป้องกันปัญหาทางด้านแรงดันไฟฟ้าในเฟส ไฟตกไฟเกิน แบบฉับพลัน ด้วยความสามารถในการป้องกันทางด้านแรงดันได้อย่างมีประสิทธิภาพเที่ยงตรง จึงสามารถป้องกันอุปกรณ์ก่อนจะได้รับความเสียหายจากปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

post-2-K-1

ถ้ามี Phase Protection Relay ในระบบ

สามารถช่วยป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อมีแรงดันไฟฟ้าตก ไฟเกิน หรือแรงดันไฟฟ้ามาไม่ครบ 3 เฟส

ถ้าไม่มี Phase Protection Relay ในระบบ

ถ้าไม่ได้ติดตั้ง Phase Protection Relay จะทำให้อุปกรณ์เสียหาย เช่น มอเตอร์ 3เฟส เกิดความเสียหาย เนื่องจากเมื่อมีแรงดันมาไม่ครบเฟสจะส่งผลทำให้ไลน์การผลิตหยุดทันที