Skip to main content
บทความ

การตรวจสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) ประจำปี

By มกราคม 5, 2024No Comments

การตรวจสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) ประจำปี

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในกรณีที่เกิดปัญหาไฟฟ้าดับ เหมาะสำหรับนำมาใช้งานในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงหรือเกิดระบบไฟฟ้าขัดข้องบ่อยครั้ง สำหรับปัจจุบันเครื่องกำเนิดไฟฟ้า คืออุปกรณ์ที่หลายอุตสาหกรรมอาทิ โรงงาน คอนโด ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

ที่นิยมติดตั้ง เพื่อใช้เป็นแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าสำรอง ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน อาทิ อุบัติเหตุ ไฟฟ้าดับหรือไฟฟ้าขัดข้องจนทำให้ไฟฟ้าไม่สามารถใช้งานได้ ดังนั้น การมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าคือสิ่งที่ช่วยในการลดความเสียหายภายในอุตสาหกรรมได้

ขนาดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก : สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กจะมีปริมาณ 1 kVA – 20 kVA โดยมีขนาดที่ค่อนข้างกะทัดรัด สามารถพกพา และสามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก เหมาะสำหรับการใช้งานภายในครัวเรือน ซึ่งมีทั้งระบบไฟฟ้าแบบ 1 เฟสหรือระบบไฟฟ้า 3 เฟส และสามารถเลือกใช้ได้แบบใช้น้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล โดยส่วนใหญ่นำไปใช้งานในด้านของงานเกษตร และการตั้งแคมป์ในป่าเพื่อให้เราสามารถใช้ไฟฟ้านอกสถานที่ได้

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดกลาง : สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดกลางจะมีปริมาณ 50 kVA – 2500 kVA อยู่ในรูปแบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบ 3 เฟส มีแรงดันไฟฟ้า 220/380 โวลต์ขึ้นไป เหมาะสำหรับใช้อุตสาหกรรม ตั้งแต่ธุรกิจขนาดกลางไปจนถึงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อาทิ โรงงาน โรงพยาบาล โรงแรม และธนาคาร รวมไปถึงอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง เพราะเมื่อไฟฟ้าหลักขัดข้องก็สามารถใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าใช้งานต่อได้ในทันที

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ : สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่มีปริมาณ 4000 kVA ขึ้นไป โดยส่วนใหญ่จะใช้ในอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่มากๆ อาทิ โรงผลิตไฟฟ้าต้นกำลัง โรงงานเกี่ยวกับพลังงานความร้อน หรือกังหันแก๊ส โดยสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาได้ในปริมาณมาก และสามารถเชื่อมต่อไปยังภูมิภาคอื่นๆ ได้

การตรวจสอบและการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

จากกฎหมายกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่องข้อกำหนดของกฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า ระบุว่าต้องมีการตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งจากข้อกำหนด ดังกล่าวควรมีการตรวจสอบ ดังนี้
1.การตรวจสอบการติดตั้งตามมาตรฐาน (Installation Requirements)
2.การตรวจสอบระบบระบายอากาศ (Ventilation System)
3.การตรวจสอบระบบน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel System)
4.การตรวจสอบระบบแบตเตอรี่ (Battery System)
5.การตรวจสอบการติดตั้งทางไฟฟ้าของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ( Electrical Installation)
6.การตรวจสอบผลทดสอบประจำสัปดาห์ (Operational Test)

ในกรณีที่เป็นงานบำรุงรักษาประจำปี จะมีการทำความสะอาดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ต้องเปลี่ยนปีละ 1 ครั้ง

กรณีที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีขนาดผลิตรวมของแต่ละแหล่งผลิตตั้งแต่ 200 กิโลโวลต์แอมแปร์ขึ้นไป
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กำหนดให้เป็นพลังงานควบคุมต้องมีการตรวจสอบเพื่อยื่นกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)และกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)

จากข้อกำหนดกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน พ.ศ. 2535
ข้อ 1 ผู้ใดประสงค์จะขอรับใบอนุญาตผลิต หรือขยายการผลิตพลังงานควบคุม ให้ยื่นคำขอตามแบบ พค. 1 (คณะกรรมการกิจการพลังงาน,การขอใบรับอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม.www.erc.or.th,แหล่งที่มา www.erc.or.th/th/produce-regulated-energy/)

ข้อ 2 การอนุญาตให้ผลิต หรือขยายการผลิตพลังงานควบคุม ให้ใช้ แบบ พค. 2 ท้ายกฎกระทรวงนี้ การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดระยะเวลาครั้งละไม่เกินสี่ปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต (คณะกรรมการกิจการพลังงาน,การขอใบรับอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม.www.erc.or.th,แหล่งที่มา www.erc.or.th/th/produce-regulated-energy/)

โดย“ผู้ตรวจสอบระบบผลิตพลังงานควบคุม” จะต้องเป็นวิศวกรระดับภาคีขึ้นไป ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)