Skip to main content

ประเทศไทยมีข้อบังคับทางกฎหมายหลายฉบับที่กำหนดให้สถานประกอบการหรือโรงงาน ต้องตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในอาคารสถานประกอบการหรือโรงงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจสอบและป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินของพนักงานและส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประสิทธิภาพในการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างเต็มที ข้อบังคับทางกฎหมายเหล่านี้มีข้อกำหนดครอบคลุมตั้งแต่ การบริหารจัดการ การดำเนินการ และมาตรฐานของระบบไฟฟ้า รวมถึงแนวปฏิบัติในการป้องกันอัคคีภัย และการจัดการสารเคมี ซึ่งล้วนแต่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินในสถานประกอบการหรือโรงงาน

กฎหมายและข้อบังคับที่สำคัญเกี่ยวกับงานตรวจสอบระบบไฟฟ้า มีดังนี้

1. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดทําบันทึกผลการตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า

ข้อ ๒ ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสอบและจัดให้มีการบํารุงรักษาระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าของสถานประกอบกิจการเพื่อให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และจัดทําบันทึกผลการตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า ตามแบบท้ายประกาศนี้

กรณีนายจ้างได้ดําเนินการตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร โดยมีวิศวกรไฟฟ้าเป็นผู้บันทึกผลการตรวจสอบให้ถือว่าเป็นการตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าตามประกาศฉบับนี้ ทั้งนี้ ผู้จัดทําบันทึกผลการตรวจสอบและรับรองต้องเป็นบุคคลที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา ๙ หรือเป็นนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. ๒๕๕๔ แล้วแต่กรณี

ข้อ ๓ ให้นายจ้างแจ้งผลการตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยในเขตพื้นที่รับผิดชอบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตรวจสอบ

กฎกระทรวง “กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. ๒๕๕๘”

“ข้อ ๑๒ นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสอบและจัดให้มีการบํารุงรักษาระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า เพื่อให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย และให้บุคคลที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา ๙ หรือนิติบุคคลที่ได้รับ ใบอนุญาตตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทํางาน พ.ศ. ๒๕๕๔ แล้วแต่กรณี เป็นผู้จัดทําบันทึกผลการตรวจสอบและรับรองไว้ เพื่อให้ พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด”

2. กรมโรงงานอุตสาหกรรม

กฎกระทรวงกําหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๐ (แนบไฟล์) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕

ข้อที่ ๑ “การตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงาน” หมายความว่า การตรวจสอบ การทดสอบ การตรวจทดสอบการศึกษาหรือค้นคว้า การวิเคราะห์ การหาข้อมูลหรือสถิติต่าง ๆ เพื่อเป็นหลักเกณฑ์หรือเป็นประโยชน์ประกอบการพิจารณาด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการผลิต การส่งหรือเพื่อส่ง การจ่ายหรือเพื่อจ่าย การใช้หรือการซ่อมระบบไฟฟ้าในโรงงาน

“ข้อ ๕ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงานและรับรอง ความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในโรงงานเป็นประจําทุกปีโดยวิศวกรหรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีกําหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยการตรวจสอบและรับรองดังกล่าวต้องจัดให้มีเอกสารเป็นหลักฐาน การจัดให้มีเอกสารตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกําหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีที่มีเหตุอันควร รัฐมนตรีจะประกาศในราชกิจจานุเบกษากําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ ตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงานและรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในโรงงานตามวรรคหนึ่งก็ได้ การตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงานและรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในโรงงาน ที่จัดอยู่ในประเภทอาคารที่ต้องจัดให้ มีผู้ตรวจสอบตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารให้เป็นไป ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและให้ ถือว่าผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ได้จัดให้ มีผู้ตรวจสอบนั้นได้ ดําเนินการ ตามวรรคหนึ่งแล้ว

คุณสมบัติผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้าที่น่าเชื่อถือได้ มีดังนี้

1.ผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้าต้องเป็นบุคคลที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9 หรือนิติบุคคลที่ได้รับ ใบอนุญาตตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทํางาน พ.ศ. 2554 แล้วแต่กรณี เป็นผู้จัดทําบันทึกผลการตรวจสอบและรับรองผลการตรวจสอบ

2.การตรวจระบบไฟฟ้าในนามของนิติบุคคล รับรองการทำงานด้วยใบประกอบวิชาชีพประเภทวิศวกรรมควบคุมในนามนิติบุคคล เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในด้านประสบการณ์ในการทำงาน การดูแลหลังการขายที่สามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง

3. บริษัทที่มีระบบ ISO การปฏิบัติงานที่เป็นไปตามมาตรฐาน ISO 9001 และ ISO 45001 โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานที่มีคุณภาพสูง ภายใต้มาตรฐานด้านความปลอดภัย เพื่อคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย

4.เครื่องมือที่ใช้สำหรับการตรวจสอบระบบไฟฟ้าควรมีการสอบเทียบเป็นประจำทุกปี โดยเครื่องมือที่เข้าดำเนินการควรมีดังนี้
• กล้องอินฟราเรด
• กล้องดิจิตอล
• เครื่องมือตรวจวัดค่าความต้านทานดิน
• เครื่องมือตรวจวัดกระแสไฟฟ้า
• มัลติมิเตอร์
• ถุงมือป้องกันแรงดันสูง
• ไขควง
• กุญแจเปิดตู้เมนสวิตช์
• ไฟฉาย
• หมวกนิรภัย
• ผ้าปิดจมูก
• ชุดคุมแขนยาว
• รองเท้านิรภัย

เมื่อได้รับเอกสารลงนามรับรองความปลอดภัยของงานตรวจสอบระบบไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว ต้องนำส่งเอกสารที่ไหน

เอกสารกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

  • สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด สามารถติดต่อและยื่นเอกสารที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานประจำจังหวัดที่อาศัยอยู่ หรือสำนักงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง
  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สามารถส่งเอกสารไปยังกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่อยู่ที่กรุงเทพฯ ผ่านทางไปรษณีย์หรือจัดส่งด้วยตนเอง
  • ช่องทางออนไลน์ กรอกข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือบริการ e-Service ของกรมฯ (เว็บไซต์ www.eservice.labour.go.th)

*ตรวจสอบทางเว็บไซต์ว่าทางพื้นที่ที่สามารถส่งเอกสารผ่านทางออนไลน์ได้หรือไม่
แนะนำให้ตรวจสอบรายละเอียดการส่งเอกสารหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สำนักงานหรือผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเพื่อความสะดวกและถูกต้องในการดำเนินการ

เอกสารกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

  • สำนักงานกรมโรงงานอุตสาหกรรม สามารถส่งเอกสารไปยังที่ตั้งของสำนักงานกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร หรือยื่นเอกสารด้วยตนเองที่สำนักงาน

ที่อยู่: กรมโรงงานอุตสาหกรรม 75/10 ถนนพระราม 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400

  • สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สามารถส่งเอกสารไปยังสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดที่อาศัยอยู่ หรือที่สำนักงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง
  • ไปรษณีย์ หากเลือกใช้บริการไปรษณีย์ สามารถส่งเอกสารไปยังที่อยู่ของกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามที่ได้ระบุไว้

แนะนำให้ตรวจสอบข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรมหรือโทรศัพท์ติดต่อเพื่อยืนยันวิธีการส่งเอกสารที่ถูกต้องและสะดวกที่สุด

ประโยชน์ของการตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปี

1. มีความปลอดภัยในการทำงาน (Safety): ระบบไฟฟ้ามีความอันตรายสูง ถ้าเกิดระบบหรือบริภัณฑ์ไฟฟ้าชำรุดอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้ เช่น การรั่วไหลของไฟฟ้า ข้อต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าหลวม ไฟฟ้าช็อต การตรวจสอบระบบไฟฟ้าช่วยระบุและตรวจสอบความเสี่ยงต่างๆ เพื่อป้องกันและดูแลความปลอดภัยให้แก่ชีวิตและทรัพย์สิน

2. ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม (Cost) ระบบและบริภัณฑ์ไฟฟ้ามีผลโดยตรงกับต้นทุนในการกระบวนการผลิต ซึ่งค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาจะต่ำกว่าค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม และถ้าการผลิตหยุดลงเนื่องจากระบบหรือบริภัณฑ์ไฟฟ้าใช้งานไม่ได้ อาจจำเป็นต้องทำงานล่วงเวลาเพื่อให้สินค้าเสร็จตามกำหนด ค่าใช้จ่ายในการผลิตจึงสูงขึ้น การบำรุงรักษายังช่วยในเรื่องของการยืดอายุการใช้งานของระบบและบริภัณฑ์ไฟฟ้า ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนทดแทน

3. งานมีคุณภาพตามความต้องการและตามเวลาที่กำหนด (Quality and Delivery) ระบบและบริภัณฑ์ไฟฟ้ามีส่วนสำคัญกับคุณภาพของงาน ถ้าเกิดระบบไฟฟ้ากระพริบก็ผลให้คุณภาพของงานหรือสินค้าเสีย อาจใช้ไม่ได้ ต้องเสียทั้งเวลาและต้นทุนในการทำงานใหม่

4. สอดคล้องกับกฎหมาย (Law/Legal Factors) การตรวจสอบระบบไฟฟ้าตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดจะช่วยให้สถานประกอบการหรือโรงงาน ปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างครบถ้วน ลดความเสี่ยงจากการถูกดำเนินคดีหรือเสียค่าปรับ

การตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยและความต่อเนื่องของการดำเนินธุรกิจ การปฏิบัติตามกฎหมายเหล่านี้ช่วยป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า รักษาสภาพการใช้งานของระบบไฟฟ้า และทำให้สถานประกอบการหรือโรงงานเป็นไปตามมาตรฐานและกฎระเบียบที่กำหนด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ประกอบการ พนักงาน และผู้มาใช้บริการ

บริษัท เทอร์โม เทรเซอร์ จำกัด พร้อมให้บริการตรวจสอบระบบไฟฟ้าและลงนามรับรองความปลอดภัย โดยวิศวกรระดับสามัญวิศวกรและผ่านการขึ้นทะเบียนมาตรา 9 พร้อมทีมงานวิศวกรไฟฟ้าผู้เชี่ยวชาญและมากประสบการณ์ ซึ่งผ่านการอบรมผู้เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพความร้อนชนิดอินฟราเรด ระดับ 1

หากสนใจงานบริการ สามารถขอรายละเอียดเพิ่มเติม ขอคำปรึกษา คำแนะนำเพิ่มเติม
โทร. 062-259-5696 หรือ ปรึกษาฟรีได้ที่ LINE OA : @Thermotracer