Skip to main content
บทความ

องค์ประกอบการตรวจสอบความปลอดภัยระบบไฟฟ้า

By กรกฎาคม 4, 2015มิถุนายน 3rd, 2016No Comments

การตรวจสอบระบบไฟฟ้า

เนื่องจากความปลอดภัยและเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า ถือว่ามีความสำคัญมาก ดังนั้น จึงต้องมีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าเป็นประจำอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการติดตั้งของทางการไฟฟ้าฯ และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ประโยชน์ของการตรวจสอบระบบไฟฟ้า

  • ความปลอดภัยของชีวิต และทรัพย์สิน
  • สร้างความมั่นใจในระบบไฟฟ้า ที่มีความปลอดภัยพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
  • เพื่อแจ้งข้อบกพร่อง เป็นรูปแบบของรายงาน ให้กับทางลูกค้าทราบ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขต่อไป
  • สามารถแก้ไขจุดที่มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดปัญหากับระบบไฟฟ้าได้ก่อนที่จะเกิดความเสียหาย
  • มีหนังสือรับรองความปลอดภัยระบบไฟฟ้า เซ็นต์รับรองโดย วิศวกรระดับสามัญวิศวกร

post-3-A-1
InfraredThermal Camera

การตรวจวัดค่าความต้านทานดิน

ประโยชน์ของการตรวจสอบค่าความต้านทานดิน

เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว กระแสไฟฟ้าจะไหลไปยังจุดที่มีค่าความต้านทานน้อยที่สุดกรณีที่ค่าความต้านทานดินมีค่าสูงเกินมาตรฐานกำหนด เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว กระแสไฟฟ้าจะไหลไปยังสายดินได้ไม่ดี ซึ่งเป็นอันตรายต่อบุคคลที่ไปสัมผัสกับอุปกรณ์ที่มีกระแสไฟฟ้ารั่ว ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจวัดค่าความต้านทานดินอยู่เสมอ เพื่อปรับปรุงแก้ไข หากมีค่าสูงเกินมาตรฐาน

อ้างอิงจาก มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556 หัวข้อ 4.27) ค่าความต้านทานการต่อลงดินต้องไม่เกิน 5 โอห์ม ยกเว้นพื้นที่ที่ยากในการปฏิบัติและการไฟฟ้าฯ เห็นชอบ ยอมให้ค่าความต้านทานของหลักดินกับดินต้องไม่เกิน 25 โอห์ม หากทำการวัดแล้วยังมีค่าเกิน ให้ปักหลักดินเพิ่มอีก 1 แท่ง

post-2-K-2
ภาพขณะวัดค่าความต้านทานการต่อลงดิน

การถ่ายภาพความร้อนเพื่อหาจุดร้อน

เทคโนโนยีภาพถ่ายความร้อนอินฟราเรด (Infrared Thermography) ถูกนำมาใช้กับงานไฟฟ้าซึ่งเป็นการบำรุงรักษาเชิงป้องกันเป็นการถ่ายภาพความร้อนตามจุดต่อต่างๆของอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อนำมาวิเคราะห์หาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดความเสียหายต่อระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า

ประโยชน์ของการถ่ายภาพความร้อน

  • สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันก่อนที่ระบบไฟฟ้าจะเกิดคาวมเสียหาย
  • ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าในกรณีฉุกเฉิน

post-3-A-3
ภาพจุดร้อนที่ได้จากการถ่ายภาพความร้อน

ตรวจสอบระบบไฟฟ้าด้วยกล้องโคโรน่า

กล้องโคโรน่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบการเกิด Partial Discharge ของฉนวนไฟฟ้าในระบบ สายส่งและจำหน่าย ซึ่งการเกิด Partial Discharge ทำให้มีโอกาศเกิดกระแสไฟฟ้าขัดข้องได้ เนื่องจากการเกิด Flash Over ของฉนวนไฟฟ้า กล้องตรวจสอบโคโรน่าสามารถตรวจพบตำแหน่งผิดปกติหรือชำรุด และสามารถแก้ไขได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของระบบไฟฟ้า

post-3-A-4
ภาพถ่ายที่ได้การส่องกล้องโคโรน่า

Single Line Diagram

post-3-A-5

ประโยชน์ของ Single Line Diagram

Single Line Diagram เป็นแบบที่ใช้แสดงการจ่ายไฟฟ้าภายในอาคารของตู้ Main Distribution Board (MDB) นับตั้งแต่หม้อแปลงไฟฟ้า มายังเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ ของอาคารที่ติดตั้งตู้ Main Distribution Board (MDB) และ เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ควบคุมตู้ ควบคุมรอง (SDB) และตู้ควบคุมย่อย (LP) ทั้งหมดของอาคาร รวมทั้งขนาดพิกัดของหม้อแปลงไฟฟ้า, เครื่องวัด, ขนาดพิกัดกระแส AT ของเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ติดตั้งภายในตู้ Main Distribution Board (MDB), ขนาดพิกัดกระแสของบัสบาร์ และชนิด ขนาด จำนวนของสายประธาน (Main Feeder), สายป้อน (Feeder) ซึ่งทำให้สะดวกในการตรวจสอบรายละเอียดภายในตู้ และตรวจสอบได้ว่าตู้ Main Distribution Board (MDB) จ่ายไฟฟ้าออกไปยังอุปกรณ์ใดบ้าง ซึ่งหากเกิดปัญหาจะสามารถตรวจสอบได้รวดเร็ว